เมนู

ประกาศเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ . . . ชราและ
มรณะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา.
[241] คำว่า อตฺถสนฺทสฺสเน - ในการเห็นชัดซึ่งอรรถธรรม
ความว่า พระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่ง
เนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งความไม่พยาบาท
เมื่อละถีนมิทธะ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอาโลกสัญญา เมื่อละอุทธัจจะ
ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน เมื่อละวิจิกิจฉา ย่อมเห็นชัด
ซึ่งอรรถแห่งการกำหนดธรรม เมื่อละอวิชชา ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่ง
ญาณ เมื่อละอรติ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งความปราโมทย์ เมื่อละ
นิวรณ์ ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งปฐมฌาน ฯลฯ เมื่อละกิเลสทั้งปวง
ย่อมเห็นชัดซึ่งอรรถแห่งอรหัตมรรค.
ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการประกาศธรรม
ต่างๆ เป็นอัตถสันทัสนญาณ.


39. อรรถกถาอัตถสันทัสนญาณนิทเทส


[239 - 241] พึงทราบวินิจฉัยในอัตถสันทัสนญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้. บทมีอาทิว่า ปญฺจกฺขนฺธา มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว.

บทว่า ปกาเสติ - ย่อมประกาศ คือ ทำให้ปรากฏ. อธิบายว่า
ยังการเห็นด้วยญาณจักษุ ให้สมบูรณ์แก่ผู้ฟัง.
บทว่า นานาธมฺมา - ธรรมต่าง ๆ ท่านกล่าวถึงธรรมทั้งปวง
ที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ. หากถามว่า เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวธรรม
เป็นโลกิยะเท่านั้น ในนิทเทสแห่งการประกาศ. ตอบว่า ท่านไม่กล่าว
ถึงธรรมเป็นโลกุตระ เพราะปรารภการประกาศด้วยความเป็นของไม่
เที่ยงเป็นต้น และเพราะธรรมเป็นโลกุตระยังไม่เข้าถึงการพิจารณา.
แต่ท่านกล่าวถึงการประกาศ ด้วยการประกาศเท่านั้น โดยอาการที่ควร
ประกาศธรรมเหล่านั้น เพราะท่านสงเคราะห์ธรรมเหล่านั้น ด้วยการ
ชี้แจงธรรมต่าง ๆ และด้วยการชี้แจงการเห็นชัดอรรถ.
บทว่า ปชหนฺโต - เมื่อละ คือ ให้ผู้ฟังละ.
บทว่า สนฺทสฺเสติ - ย่อมเห็นชัด คือ แสดงแก่ผู้ฟังโดยชอบ.
แต่อาจารย์บางพวกกล่าวโดยนัยมีอาทิว่า พระโยคาวจรย่อมเห็นชัดซึ่ง
อรรถแห่งเนกขัมมะ เพราะละกามฉันทะได้แล้ว. พึงทราบว่า ท่าน
กล่าวนัยนี้ เพื่อแสดงว่า เมื่อผู้ฟังธรรมอันตรงเหล่านั้นนั่นเทียว ทำ
การละโทสะ และได้เฉพาะแล้วซึ่งคุณ เทศนาญาณย่อมถึงชั้นยอด.
จบ อรรถกถาอัตถสันทัสนญาณนิทเทส

ทัสนวิสุทธิญาณนิทเทส


[202] ปัญญาในความสงเคราะห์ธรรมทั้งปวงเป็นหมวดเดียว
กัน และการแทงตลอดธรรมต่างกัน และธรรมหมวดเดียวกันเป็น
ทัสนวิสุทธิญาณอย่างไร ?
คำว่า ธรรมทั้งปวง ได้แก่ ขันธ์ ฯลฯ โลกุตรธรรม
คำว่า ความสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน ความว่า ธรรม
ทั้งปวงท่าน เคราะห์เป็นหมวดเดียวกันโดยอาการ 12 คือ โดยสภาพ
ถ่องแท้ 1 โดยสภาพมิใช่ตัวตน 1 โดยสภาพจริง 1 โดยสภาพควร
แทงตลอด 1 โดยสภาพที่ควรรู้ยิ่ง 1 โดยสภาพที่ควรกำหนดรู้ 1 โดย
สภาพที่เป็นธรรม 1 โดยสภาพที่เป็นธาตุ 1 โดยสภาพที่อาจรู้ 1 โดย
สภาพที่ควรทำให้แจ้ง 1 โดยสภาพที่ควรถูกต้อง 1 โดยสภาพที่ควร
ตรัสรู้ 1 ธรรมทั้งปวงท่านสงเคราะห์เป็นหมวดเดียวกัน โดยอาการ
12 นี้.
คำว่า ความต่างและความเป็นอันเดียวกัน ความว่า กาม
ฉันทะเป็นความต่างๆ เนกขัมมะเป็นอันเดียวกัน ฯลฯ กิเลสทั้งปวง
เป็นความต่าง ๆ อรหัตมรรคเป็นอันเดียวกัน .
คำว่า ในการแทงตลอด ความว่า พระโยคาวจรย่อมแทง
ตลอดทุกขสัจ เป็นการแทงตลอดด้วยกำหนดรู้ แทงตลอดสมุทย-